รีวิวการเตรียมตัว Super AI Engineer บทความนี้คัดลอกมาจาก Linkedin ของ Piyaphan Wongma การเตรียมตัวเข้าโครงการ Super AI Engineer เนื่องจากผู้เขียนเป็นเจ้าของเอง จึงไม่ติดปัญหาเรื่องการแบ่งปันข้อมูล

สวัสดีครับทุกคน ผมมีความยินดีที่จะแนะแนำให้ทุกท่านรู้จักกับโครงการ Super AI Engineer จากสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ถ้าคุณเป็นคนที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ Super AI Engineer และไม่รู้จะมองหาข้อมูลที่ไหน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยเหลือให้ทุกท่านสามารถเตรียมตัวเข้าโครงการได้อย่างราบลื่น
แนะนำตัว
เพื่อทำความเข้าใจพื้นฐานของผู้เขียนบทความ และผู้ร่วมโครงการท่านอื่นๆ อยากจะขอแนะนำตัวให้ทุกท่านได้รู้จักก่อนสั้นๆ ผมเป็นพนักงานบริษัทเอกชนก่อนที่จะเข้ามาร่วมค่าย ตอนนั้นอยู่ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ไม่ได้ออกไปเปิดโลกเจออะไรใหม่ๆ อยากหาอะไรทำอยู่พอดี ประกอบกับไปเจอโพสบน Facebook ของอาจารย์สมัยเรียนโพสเกี่ยวกับโครงการจึงลองเข้ามาศึกษาดู เดี๋ยวจะสรุปโครงการข้างล่างนี้
รีวิวการเตรียมตัว สรุปโครงการสั้นๆ
โครงการจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ค่ายที่ 1 ในช่วงนี้จะเป็นการเปิดให้ศึกษาองค์ความรู้ออนไลน์เนื้อหามีประมาณ 120 ชั่วโมง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน ระยะเวลาของค่ายนี้จะอยู่ในช่วง 2-3 เดือนแล้วแต่จังหวะของแต่ละท่าน
Fundamental Level เป็นเนื้อหาพื้นฐาน *เน้นคณิตศาสตร์ เป็นหลักเพื่อให้เข้าใจถึงการคำนวนการอธิบายเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาปัญญาประดิษฐ์ และวิธีการใช้งานเครื่องมือที่ต้องใช้ในค่ายเบื่องต้น
- Python (Computer Language)
- Google Colab (Python Tool)
- Kaggle (Competition, Python Tool)
- Linux (Python server based pn Linux)
- Git (Code version control)
- Node-RED (IoT)
Intermediate Level เป็นเนื้อหาเชิงลึกในทฤษฎีในหัวข้อที่เป็นวิธีปัจจุบันที่ใช้กัน โลกทำอะไรกัน และลงเนื้อหา Code เข้ามาเสริม แต่ยังคงเน้นเนื้อหาคณิตศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งส่วนนี้จะลงลึกแบบที่ถ้าเข้าใจก็เข้าค่ายไปสบาย
AI Clinic เป็นเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์จากเครือข่ายสมาคมปัญญาประดิษฐ์ มีผู้รู้ ทั่วทั้งประเทศไทยมาแชร์ประสบการณ์ การนำไปใช้จริง วงการต่างๆที่นำ AI ไปใช้ ซึ่งจะอยู่ช่วงเย็นๆ ดึกๆ วันหยุด ให้เราสามารถเข้าไปเรียนได้ ขอแนะนำให้เข้าไปบ่อยๆ เพราะจะเห็นการเอาไปใช้งานจริงของผู้รู้ในแต่ละแขนง
โดยเนื้อหาในค่ายแรกจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน
- Natural Language Processing เนื้อหา 40%
- Image Processing เนื้อหา 20%
- Signal Processing เนื้อหา 10%
- Data Science เนื้อหา 10%
- Internet of Thing เนื้อหา 10%
- Robotics เนื้อหา 10%
จะเห็นได้ว่าเนื้อหาเน้นไปทาง NLP ประมาณ 40% เนื่องจากคณะกรรมการ และอาจารย์ส่วนใหญ่อยู่ในสายงานด้านนี้เป็นหลัก
ค่ายนี้เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้ามาศึกษาหาความรู้ และสำหรับคนที่ต้องการเข้าสู่รอบที่ 2 จำเป็นจะต้องสอบคัดเลือกให้ผ่าน โดยแต่ละปีจะมีโควต้าที่นั่งให้เพียง 120-160 ท่าน
สำคัญ สำหรับการสอบเข้าค่ายในค่ายปีที่ 2 นั้นข้อสอบออกเฉลี่ยเนื้อหาเท่าๆ กันไม่ได้เน้นที่ NLP เป็นหลักถ้าเรารู้ว่าไม่มีเวลาศึกษาที่มากเพียงพอ อาจจะต้องไปเน้นเนื้อหาส่วนอื่นที่ไม่ใช่ด้าน NLP เพราะเนื้อหาน้อยกว่ามาก แต่มีคะแนนสัดส่วนเท่าๆกัน
รีวิวการเตรียมตัว 3 บททดสอบ
การคัดเลือกเข้าสู่รอบที่ 2 นั้นผู้สมัครต้องผ่านการทดสอบ 3 บททดสอบ
- สอบภาคทฤษฎี ผ่านเกิน 50% (ขอบอกว่าข้อสอบยากมาก) ข้อสอบจริงมี 80 ข้อหมายความว่าต้องทำให้ได้มากกว่า 40 ข้อขึ้นไป ตามที่ได้แจ้งไว้ด้านบนเนื้อหาเฉลี่ยกันไม่ได้เน้นไปทาง NLP มากเท่าเนื้อหาที่เราเรียนไปเยอะที่สุด
- พยายามเก็บเนื้อหา ให้ครอบคลุม IoT น้อยแต่คะแนนเยอะ
- พยายามเข้าร่วมทดสอบการสอบ จะมีให้ทดลองระบบ 1-2 ครั้ง
- จดจำข้อสอบที่เจอในการทดสอบระบบ เพราะเนื้อหาคล้ายกันอาจจะเปลี่ยนตัวเลขหรือตัวแปล
- หาเพื่อนที่เก่งใน Domain ต่างๆมาช่วยกันติว จะทำให้เข้าใจได้ไวขึ้น
- แนะนำตัว โครงการให้ทำคลิปแนะนำตัวโดยพูดถึงเนื้อหาที่บ่งบอกว่าเราพอมีความรู้ด้าน AI มาบ้างสามารถวิเคราะห์ความรู้ด้าน AI ได้ โดยมีเนื้อหาประมาณ 5-30 นาที โดยให้เราไปสร้างช่องของเราอัปโหลดขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ และส่ง CV
- คะแนนส่วนนี้เยอะมาก ถ้าตั้งใจทำมีส่วนให้เข้ารอบสูง
- เนื้อหาควรย่อยให้เข้าใจง่าย
- ทำเรื่องง่ายๆ สั้นๆ เล็กๆก็พอไม่ต้องทำเยอะ
- แสดงความรู้ ความเข้าใจ ในส่วนที่เราเสนอ
3. สอบสัมภาษณ์ หากจะเข้าสอบสัมภาษณ์ได้ต้องสอบทฤษฎีผ่าน และส่งคลิปแนะนำตัวผ่านเกณฑ์ วิธีการสอบสัมภาษณ์จะเป็นการคุยออนไลน์ผ่าน Zoom โดยจะเรียกผู้สมัครเข้าห้องทีละ 4 คนในนั้นจะมีกรรมการสัมภาษณ์ประมาณ 10 คน ผู้ที่จะตั้งคำถามเราส่วนใหญ่เป็นกรรมการโครงการ โดยคำถามจะเป็นคำถามไม่ยากเกี่ยวกับการจัดการตัวเอง
- แนะนำตัว ทำอะไรอยู่ เรียน/ทำงาน
- ถ้ามีภาระจะเข้าค่าย 2 ได้อย่างไร
- ถ้าต้องเลือกเรียน หรือทำงาน และต้องหยุดเรียนหยุดทำงาน จะทำอย่างไร
- ถ้าเข้าค่ายแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่จะทำอย่างไร
- ทางบ้าน ครอบครัว ที่ทำงานสนับสนุนหรือไม่
- ทำไมถึงสนใจ AI
- และอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความพร้อมและการจัดการกับปัญหาชีวิต
หลักๆของการสัมภาษณ์คือการทดสอบ ความตั้งใจ ความใส่ใจ และความพยายามที่จะเข้าค่าย เนื่องจากโครงการมีค่าใช้จ่ายที่ลงทุนกับคนในโครงการสูงพอสมควร หากเราโลเล หรือไม่มั่นใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจจะไม่ได้ถูกรับคัดเลือก ถ้าตั้งใจว่าจะเข้าค่ายจริงๆ ต้องแสดงให้เห็นว่า เราสามารถจัดการเรื่องเรียน เรื่องงาน เรื่องส่วนตัว การอยู่ร่วมกันกับคนอื่นได้
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ท่านน่าจะมีความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าค่ายได้เป็นอย่างดี ลองตั้งเป้าหมาย ตั้งใจเรียนศึกษาหาความรู้วันละ 1-2 ชั่วโมง (ถ้าเรียนวันละ 2 ชั่วโมงก็ต้องใช้เวลาถึง 60 วัน)
สำหรับผมมีการรวมตัวกันของผู้สมัครด้วยกันช่วยเหลือกันติวออนไลน์ ใครเก่งอะไรก็มาสอนกันเพื่อช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาได้ไวขึ้น นัดกันทำความรู้จักกัน ก่อนที่ค่ายจะเริ่มใน Discord
หวังว่าบทความนี้จะมีส่วนช่วยให้ท่านสามารถพิชิตค่ายที่ 1 สำหรับแล้วพร้อมสำหรับการเข้าไปสู่ค่ายที่ 2
ในบทหน้าจะเป็นเนื้อหาของการเลือกบ้าน(ทีม) และการใช้ชีวิตในค่ายแข่งขันเป็นอย่าไรต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง
การเลือกบ้าน Super AI Engineer
Recent Comments