Super AI Season 1 ได้มีโอกาสมาให้คำแนะนำน้องๆ Super AI Engineer Season 2 เราได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ มาให้อ่านได้เข้าใจง่าย
Super AI Season 1 ได้มีโอกาสพูดคุยกับรุ่น 2 บทสัมภาษณ์นี้รวบรวมข้อมูลก่อน Season2 จะเริ่ม เนื้อหาจะเป็นการสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขัน Season 1 รายละเอียดอาจจะต่างจากที่ท่านได้อ่านของ Season 2 ที่เราเขียนไปก่อนหน้านี้พอสมควร
การแข่งขันในค่าย Super AI เป็นอย่างไร
จะกดฟังเสียงไปเรื่อยๆก็ได้ 2 ชั่วโมง หรืออ่านที่เราสรุปมาให้ก็ได้
โดยข้อมูลที่ได้มาจากทีมงาน และรุ่นพี่ Super AI Engineer Season 1
เรียบเรียงและบันทึกโดย SUPERAI2-851

เพื่อให้ทุกท่านได้เตรียมตัวก่อนประกาศผลเข้ารอบ 2 ในวันที่ 5 ธ.ค. 2564 จะเตรียมตัวอย่างไร บทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจโครงการในรอบที่ 2 มากขึ้น โดยรายละเอียดจะอ้างอิงจากปีที่แล้วเป็นหลัก สำหรับปีนี้รายละเอียดอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง ให้ศึกษาเป็นความรู้รอบตัว บทความนี้ไม่ใช่การประกาศอย่างเป็นทางการ
นิยาม
ผู้เล่น คือ ผู้สมัครโครงการ Super AI Engineer
ผู้เชี่ยวชาญ คือ อาจารย์มหาวิทยาลัย แขกรับเชิญ วิทยากร
บ้าน คือ สังกัดกลุ่มที่ประกอบไปด้วย อ.ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เล่น
Hachathon คือ การประกวดผลงานตามโจทย์ที่ได้รับมา
On-Site คือ การร่วมกิจกรรมในสถานที่ที่โครงการจัดให้ ได้พบหน้าเจอตัวกัน
Online คือ การร่วมโครงการผ่านช่องทาง Online
ภาพรวมโครงการ Seanson2
กำหนดการ (หากไม่ระบุเวลาให้คิดว่า 23.59)
17/11/2564 ประกาศผล Foundation AI
21-30/11/2564 สอบสัมภาษณ์
05/12/2564 ประกาศผลเข้าร่วมรอบ 2
รูปแบบกิจกรรมในรอบที่ 2
มีการแข่งขัน Hackathon 5 สัปดาห์ โดยแบ่งได้ดังนี้ (ช่วงเวลาโดยประมาณ)
- On-Site 1 21/01/2565 – 04/02/2565
- Online 1 05/02/2565 – 27/02/2565
- On-Site 2 28/02/2565 – 05/03/2565
- Online 2 06/03/2565 – 20/03/2565
- On-Site 3 21/03/2565 – 01/04/2565
โจทย์ 5 หัวข้อ
1 Natural Language Processing
2 Image Processing
3 Signal Processing
4 Data Science
5 Robotics and Internet of Thing
ย่อยกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ (โดยประมาณ)
จ. เรียนจากวิทยากร รับโจทย์ Hackathon ใหญ่/เล็ก
อ. ศึกษา/พัฒนาระบบ
พ. ศึกษา/พัฒนาระบบ Hackathon เล็ก
พฤ. ศึกษา/พัฒนา/ปรับปรุงระบบ
ศ. นำเสนอสินค้า/บริการ Hackathon ใหญ่
ส.-อา. พักผ่อน ลดความกดดันด้วยตัวเอง
บทสัมภาษณ์ Super AI Engineer Season 1
Q: ทำงานอะไรกันมาก่อน
A: เป็น Freelance, พนักงานบริษัท, นักศึกษาปริญญาโท มาจากหลากหลายอาชีพ
Q: รู้จักโครงการนี้กันได้อย่างไร
A: พบเห็นโครงการประชาสัมพันธ์ทาง Facebook แล้ว, ในส่วนของนักศึกษาปริญญาโทนั้น เป็นนักศึกษาในสังกัดของ อ.ที่ปรึกษาของโครงการ Super AI Engineer อ.สนับสนุน จึงแนะนำให้เข้าร่วมโครงการ
Q: การจับทีมงาน ทำอย่างไร
A: การตั้งทีมจะมีพื้นฐานจากบ้านใหญ่เป็นหลักช่วยเหลือกันทำ Hackthon ใหญ่ แล้วก็ทีมเล็ก 2-3 สำหรับ mini-Hackathon เสนอผลงานกลางสัปดาห์
Q: แบบนี้ในแต่ละบ้านจะมีความแตกต่างกันไปคนละมุมหรือเปล่า
A: ในแต่ละบ้านจะมีความที่มีความรู้หลากหลายคละกันเข้ามา ก็ไม่ได้เอาคนที่ถนัดด้านเดียวเข้าบ้าน แม้กระทั้งผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาก็ครบทั้ง 5 ด้านในบ้านนั้นๆ
Q: มีการคัดเลือกเข้าบ้านอย่างไร
A: ในผลสอบ Foundation AI, Clip Video จะมีคะแนนที่บ่งบอกว่าเราเด่นด้านไหน แต่ละคนต้องเตรียม Resume, CV (ประวัติส่วนตัว) เพื่อเสนอต่ออาจารย์ และอาจจะมีการแนะนำตัวต่ออาจารย์ทั้งต่อหน้าและ คลิปวิดีโอ
Q: ถ้าเลือกบ้าน แล้วบ้านเลือกไม่ตรงเราจะเกิดอะไรขึ้น
A: ในการเลือกบ้านจะให้ผู้เล่น เลือกบ้านเป็นอันดับ ถ้าอันดับที่เราเลือกไว้ แล้วบ้านเลือกเรา ก็จะได้บ้านตามลำดับที่เราเลือก
Q: บ้านที่นิยม คนจะล้นหรือไม่
A: ในแต่ละบ้านก็จะมีจำกัดความสามารถในการรับคน (อาจจะไม่เกิน 20 คน)
Q: แต่ละท่าน ไปทำความรู้จักกันได้อย่างไร ทำทีมกันอย่างไร
A: เมื่อเราเข้าโครงการ จะมีการละลายพฤติกรรมให้ทุกคนได้รู้จักกันในช่วง On-Site 2 สัปดาห์แรก
Q: โจทย์แต่ละสัปดาห์เน้นการทำงานเป็นทีม แล้วมีคนอู้ในโครงการบ้างไหม
A: การทำงานเป็นทีมย่อยมีคนอู้งาน แต่โครงการก็มีการวัดความตั้งใจ
Q: สำหรับคนที่เป็นนักศึกษา แบ่งเวลามาเข้ากิจกรรมอย่างไร
A: ต้องหยุดเรียนมาเข้าร่วมกิจกรรมเลย เพราะกิจกรรมใช้เวลาชีวิตมาก กินเวลาเป็นวันเป็นคืน
Q: สำหรับคนที่ทำงาน แบ่งเวลาเข้าร่วมโครงการอย่างไร
A: ก็หยุดงานมาตั้งใจในโครงการนี้โดยฌแพาะ ซึ่งเงินทุน 50,000 ก็เพียงพอช่วยเหลือการดำรงชีพ
Q: การนำเสนองานเป็นไปในรูปแบบไหนระหว่างเทคนิคผลลัพธ์การทำงาน หรือการตลาด
A: การนำเสนอผลงานต้องตอบสนองต่อโจทย์ เช่นทำให้แม่นยำ ใช้เวลาน้อย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าโจทย์เป็นแบบไหน
การนำเสนอต้องนำเสนอให้ตอบโจทย์ทางสังคมด้วย จะมีสอนในค่ายนอกจากเรื่อง AI
Q: การแข่งขันในแต่ละสัปดาห์ แข่งกันที่ไหนใน Kaggle หรือไม่
A: มีการใช้ Kaggle เพื่อส่งงาน จัดตารางคะแนน แต่ก็ต้องจบด้วยการนำเสนอผลงาน
ผลงาน เทคนิค การส่งงานทันเวลา มีผลต่อคะแนนในการละโจทย์ทั้งสิ้น
Q: กิจกรรมในโครงการ สามารถเอาไปประโยชน์ได้จริงไหม
A: กิจกรรมเน้นการทำผลงานตามโจทย์จริง ซึ่งสามารถเอาไปใช้งานต่อได้ ซึ่งเน้นการฝึกฝีมือให้ชินโจทย์ ชินต่อการทำงาน เพิ่มพูนประสบการณ์
Q: เมื่อเข้าโครงการเราจะเลือกหัวข้อที่สนใจเป็นหลักได้ไหม
A: หากเราจะชอบหัวข้ออะไรก็แล้วแต่ เราต้องเรียนรู้และทำให้ทุกหัวข้อ
Q: มีการนำโจทย์ จากข้างนอก หรือโจทย์ในใจเอามาเสนอได้หรือไม่
A: ผู้เล่นสามารถเสนอหัวข้อได้ ถ้าผู้เล่นมีส่วนเกี่ยวข้องในการออกแบบโจทย์นั้น จะถูกกันไม่ให้ร่วมการแข่งขันในโจทย์นั้น
Q: สำหรับนักศึกษา สามารถเอาไปเขียนวิทยานิพนธ์ได้หรือไม่
A: ผู้เล่นทุกคนต้องลงชื่อยอมรับการไม่เปิดเผยเนื้อหาในโครงการไปเสนอภายนอก
Q: ในฐานะรุ่นพี่ รุ่นน้องมีเวลาเตรียมตัว 2 เดือน พอจะแนะนำให้เตรียมตัวอะไรบ้าง
A:
1 Python Programing
2 Soft Skill การทำงานกับคน การจัดการงาน การนำเสนอผลงาน
3 ปูพื้นฐานความรู้ใน MOOC ให้แน่น เพื่อที่จะได้มองงานในมุมกว้างได้ แก้ไขปัญหาใดต้องใช้เทคนิคอะไร
Q: ตอนอยู่ในโครงการ แบ่งหน้าที่การทำงานอย่างไร
A: แต่ละกลุ่ม แต่ละทีมเกิดจากคนหลายประเภท ซึ่งวัฒนธรรมสังคมจะก่อให้เกิดรูปแบบการทำงานเฉพาะของตัวเองขึ้นมา ไม่มีรูปแบบตายตัว แต่ความสำคัญคือพูดคุยกันให้มาก
โดยแต่ละคนต้องเรียนรู้ทักษะในด้านต่างๆ มากขึ้นเช่นคนถนัดนำเสนอผลงาน ก็ต้องฝึกการเขียนโปรแกรมให้มากขึ้น และคนที่เขียนโปรแกรมเก่งๆ ต้องพยายามฝึกทักษะการนำเสนอ
Q: การฝึกงานเราไปเดี่ยวหรือไปเป็นทีม
A: แยกกันไปตัวใครตัวมัน ซึ่งอยู่กับความสนใจของแต่ละคน ซึ่งเป็นที่มาว่าเราจะรู้เรื่องเดียวทักษะเดียวไม่ได้
Q: การอ่านเอกสารวิชาการ จำเป็นไหม
A: กรรมการส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ หากเราสามารถเอาเอกสารวิชาการมาใช้ประโยชน์ มาอ้างอิงได้จะได้เปรียบ
Q: เราสามารเอาไอเดีย เครื่องมือ หรือ Code จากข้างนอกมาใช้ในโครงการได้ไหม
A: สามารถใช้ได้หมดเท่าที่เราสามารถหามาได้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกคน สามารถแบ่งคนแบ่งหน้าที่กันไปทำได้
Q: การประมวลผลให้ใช้ผ่าน Server อะไร หรือใช้เครื่องส่วนตัว
A: โครงการมี Cloud Server ให้ใช้งานและมี Credit ให้ (Huawei/Amazon)
บทสัมภาษณ์ Super AI Season 1
Q: กิจกรรม On-site เป็นอย่างไร
A: เป็นค่ายปิด กิน อยู่ ทำงาน นอน ด้วยกันในค่าย ตั้งแต่ 9.00 จนดึกดื่น แต่สำหรับปีนี้ต้องรอประกาศอีกที อาจจะมีเรื่องปิดสถานที่ด้วยหรือไม่ต้องคอยติดตาม โดยยึดสถานที่กรุงเทพเป็นหลัก
Q: ถ้ากิจกรรม On-site แล้วผู้เล่นที่อยู่ต่างประเทศจะร่วมกิจกรรมด้วยได้อย่างไร
A: ทีมงานอาจจะต้องปรึกษากันก่อน
Q: เข้าโครงการนี้ท้อแท้บ้างไหม
A: แรกๆแทบอยากจะออกจากโครงการ ยากจนถอดใจ แต่พอปรับตัวได้ก็ เริ่มที่จะทนได้
สำหรับใครที่ป่วย หรือมีโรคประจำตัวให้แจ้งทีมงานไว้ก่อนเข้างาน แต่โครงการไม่ได้จำกัดการเข้าร่วม
Q: ปีที่แล้ว IoT/Robotic ทำกันอย่างไร
A: เนื่องจากปีที่แล้วเป็น Online ส่วนใหญ่ จึงไม่มีหัวข้อนี้
Q: ในมุมของนักเรียน พ่อแม่ ครอบครัวส่งเสริมให้เข้าโครงการนี้หรือไม่
A: ทางบ้านไม่มีปัญหา และเห็นด้วยที่จะเข้าร่วมโครงการ และเป็นโชคดีของรุ่นพี่ด้วย ที่เรียนครบหลักสูตรแล้ว เป็นช่วงเว้นว่างในการทำวิทยานิพนธ์
Q: ในมุมของผู้ที่ทำงานแล้ว มีปัญหากับการเข้าร่วมโครงการหรือไม่
A: การทำความเข้าใจกับคนทางบ้านเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจจะต้องพลาดรายได้ประจำที่ทำอยู่ หรือทิ้งรายได้จากกิจการที่บริหารอยู่
Q: หลังจากจบโครงการมีใครได้รับข้อเสนออะไรดีๆไหมครับ
A: ที่ฝึกงานมีการเสนอให้ทำงานต่อ หากเราตกลงกันได้
Q: ตอนฝึกงานได้รับเงินเดือนไหม
A: จะได้เงินเดือนแตกต่างกันไปแล้วแต่ผู้ประกอบการ
Q: เหรียญทองได้รางวัลเป็นอะไร
A: มีใบประกาศให้
Q: สามารถส่งรายชื่อกิจการ หรือผู้ประกอบการเพิ่มเพื่อไปฝึกงานสามารถทำได้ไหม
A: สามารถทำได้ ทางโครงการอาจจะเปิดให้เสนอได้
Q: ตอนฝึกงานหรือเข้าร่วมโครงการจะมีพี่เลี้ยงไหม
A: ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ที่ปรึกษา จะคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่เข้าโครงการไปจนจบโครงการ
Super AI Engineer Season 1 Hall of Frame
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้

Recent Comments