สิทธิประโยชน์ในการทำงาน เรื่องที่เรามักใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าจะเลือกที่ใด เป็นพิเศษหรือไม่
Material: Presentation PDF
ต่อจากตอนที่แล้ว The best benefits ตอนที่ 1 เราทำงานกันทำไม

เมื่อเราตัดสินใจได้แล้วว่า เรามีวัตถุระสงค์อะไรในการเลือกงานแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องสิทธิประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากๆที่เราจำเป็นจะต้องพูดคุยเจรจาให้รู้เข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย นายจ้าง และลูกจ้าง จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลังเข้าไปทำงานแล้ว
โดยเราขอแบ่งประเภทของสิทธิประโยชน์เป็นดังนี้
- Basic Benefits จำเป็นต้องได้ ถ้าไม่ได้ห้ามไปสมัครงานประจำ เพราะถือว่า ทำผิดกฎหมาย
- Alternative Benefits สิทธิประโยชน์เสริม ขึ้นอยู่กับกำลังของนายจ้างเพื่อดึงดูดแรงงานมันสมอง
- Top-up Benefits ค่าใช้จ่ายเสริมเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำงาน
1. Basic Benefits
สิทธิประโยชน์พื้นฐานที่ควรได้จากการทำงาน

โดยเราจะแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ
- เงินเดือน Salary และผลตอบแทนที่ประเมิณเป็นมูลค่าได้ เช่นหุ้น ทองคำ หรืออื่นๆ เพราะการทำงานนั้นต้องจ่ายค่าแรงงานตามกฎหมาย หากไม่จ่ายค่าแรงกิจการนั้นกำลังทำผิดกฎหมาย
- ประกันสังคม Social Security เป็นกองทุนออมเพื่อช่วยเหลือแรงงานในยามวิกฤติเช่น ประสบอุบัติเหตุ หรือลาออกทำให้ไม่สามารถหาเงินมาใช้จ่ายดูแลรักษาได้ เป็นสิทธิ์พื้นฐานที่กิจการควรช่วยดูแลแรงงาน
- ลาป่วย Sick leave 30 ต่อปี หรือ 2 วันต่อครั้งเนื่องจากสิ่งมีชีวิตย่อมมีการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถไปทำงานได้ ต้องสามารถลาได้ตามความเหมาะสม
- ลากิจ Business Leave เพื่อให้พนักกงาน สามารถใช้สิทธิ์ไปติดต่อธุระส่วนตัว ในวันทำงานได้ เช่นไปทำใบอนุญาตขับขี่ หรือไปซื้อขายที่ดิน
- วันหยุดนักขัตฤกษ์ Holiday Leaveตามปฏิทิณของประเทศนั้นๆ และจะต้องเป็นฐานว่าจะไม่ใช้แรงงานในวันดังกล่าว หากมีเหตุต้องทำงาน จำเป็นต้องให้ค่าจ้างในราคาพิเศษ เพราะถือว่าไปพรากวันหยุดจากครอบครัว หรือไปพรากโอกาสพักผ่อนของเขาไป
สิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ควรได้จากการไปทำงาน สำหรับน้องๆที่กำลังศึกษาอยู่นั้น อัตราการต่อรองกับนายจ้างอาจจะยังไม่มาก แต่ไม่ควรสิทธิ์พื้นฐานเหล่านี้ไป
2. Alternative Benefits
กรรมสิทธิ์พิเศษเพื่อดึงดูดพนักงาน

สำหรับบางกิจการนั้นจะมีสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อดึงดูดหรือจูงใจให้พนักงานคงยังอยู่กับบริษัท หรือดึงดูดพนักงานใหม่ๆให้เข้ามา ซึ่งอาจจะให้เป็นค่าตอบแทน หรืออาจจะเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ควรได้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งนายจ้าง หรือกิจการบ้างที่อาจจะไม่มีสิทธิประโยชน์ส่วนนี้ให้ เนื่องจากกิจการยังมีผลประกอบการที่ยังไม่ดีพอที่จะเลี้ยงดูพนักงานให้
- Bonus / Commission เงินตอบแทนการเหน็ดเหนื่อยของพนักงานที่ทำงานหนัก อาจจะเป็นโบนัสเมื่อถึงสิ้นปีให้เป็นเงินรางวัลก้อนใหญ่ หรือค่านายหน้าที่เราไปสร้างผลประโยชน์ให้กิจการแบ่งตามส่วนแบ่งที่เราสามารถทำได้ โดยเงินก้อนนี้จะขึ้นอยู่กับผลประกอบการประจำปีของกิจการเป็นหลัก ซึ่งเราไม่สามารถคาดหวังที่จะได้ประจำต่อเนื่องทุกๆ ปีได้
- เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Fund เป็นการที่นายจ้างช่วยสมทบเงินออมของลูกจ้าง เช่นสมมติว่าเรามีเงินเดือน 15,000 บาท ในแต่ละเดือนเราต้องการออมเงิน 5% ของเงินเดือนคือ 750 บาท นายจ้างจะช่วยเราออมเพิ่มอีก 750 บาท ในเดือนนั้นจะเหมือนว่าเราออมเงินไป 1,500 บาท ซึ่งจริงๆเราสามารถออมเงินได้มากกว่านี้ เงินที่เราออมสะสม ก็จะมีกำหนดวันเวลาที่สามารถถอนออกได้ เช่นเมื่อทำงานครบ 3 ปีขึ้นไปหากลาออกจะสามารถถอนเงินนี้ได้ หากเราทำงานจนเกษียณเราจะมีเงินใช้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากที่เราออมเลย
- ลากพักร้อน Vacation Leave ส่วนใหญ่แล้วจะมีให้ทุกบริษัท แต่จะเป็นผลจากที่เราเข้าทำงานครบ 1 ปี แล้วจะได้สิทธิ์ลาพักร้อนในปีถัดไป เป็นจำนวน 4-12 วัน(ในประเทศไทย) แล้วแต่สถานที่ เพื่อให้พนักงานไปพักผ่อน และนำเงินไปจับจ่ายใช้สอยเพื่อความสุขส่วนตัวบ้าง
- การสนับสนุนการเรียน ฝึกสอน ถ่ายโอนงาน ส่งไปอบรม ศึกษาดูงาน เพื่อสร้างบุคคลกรอันมีคุณค่าแก่บริษัทนั้นเป็นสิทธิประโยชน์ของพนักงานในกิจการหรืออุตสาหกรรมนั้น เพื่อยกระดับความรู้ของพนักงานให้เท่าทันกับองค์ความรู้ของบริษัท หรือนำหน้าบริษัท ตัวบริษัทก็ได้ประโยชน์ ตัวพนักงานก็ได้พัฒนาและเติบโตเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท
- Flexible Hour / Working from home เป็นกระแสนิยมสำหรับการทำงานนยุคสมัยใหม่ โดยวัดผลงานที่ผลลัพธ์เป็นหลักมากกว่าธรรมเนียมหรือวิธีการปฏิบัติ การเข้างานจาก 8:00 เป็น 9:00 อาจจะทำให้ลดเวลาบนท้องถนนที่ต้องตื่น 5:00 เป็น 7:00 ได้ เพราะเดินทางในช่วงที่การจราจรเบาบางลง หรือการทำงานจากที่บ้านได้ช่วยลดความเครียดสะสมจากการเดินทาง หรือลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางลง
- Relax / Activities / Sport ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆให้พนักงานได้พัฒนาการเข้าสังคม พัฒนาสุขภาพ เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพจิตสุขภาพกายที่แข็งแรง มีผลการศึกษาว่าถ้าพนักงานมีสุขภาพที่ดีจะสร้างผลงานได้ดีกว่าพนักงานที่สุขภาพกายใจย่ำแย่ นั้นจึงเป็นเหตุผลที่บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
- ค่ารักษาพยาบาล และประกันสุขภาพ ในบางกิจการ หรือบางประเภทหน่วยงานนั้นดูแลครอบครัวของพนักงานดุจคนในครอบครัวบริษัท มีงบประมาณสำหรับดูแลพ่อแม่ บุตรหลานที่เป็นครอบครัวของพนักงานยามเจ็บไข้ ไร้กังวล
- ลาบวช / ลาคลอด สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา และความสำคัญของการสร้างครอบครัว ให้พนักงานสามารถหยุดยาวได้ และได้รับค่าจ้าง และกลับมาทำงานต่อได้
- เงินตั้งตัวสำหรับพนักงานที่สร้างประโยชน์ให้บริษัท และต้องการออกไปประกอบธุรกิจส่วนตัว
สำหรับ Alternative Benefits นั้นเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดหวังที่จะได้จากกิจการได้ เพราะการดูแลพนักงานนั้นล้วนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเสมอ ก็เป็นเงินที่ได้จากผลประกอบการของบริษัทไหลกลับมาดูแลพนักงงาน
3. Top-up Benefits
ข้อนี้อาจจะเรียกผลประโยชน์ได้ไม่เต็มที่เท่าไหร่ อาจจะเรียกว่าเป็นเงินช่วยเหลือการทำงานก็ได้ ซึ่งบางที่อาจจะให้ หรือไม่ให้เพราะคิดไปในเงินเดือนให้แล้ว

- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เป็นเงินให้เปล่าให้พนักงานไปใช้งานทำอะไรก็ได้แล้วลงบัญีงบบริษัท
- รถประจำตำแหน่ง
- ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการ เช่นค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถ ค่าเสื่อมรถยนต์ ค่าที่จอดรถ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก
- สิทธิ์ลาวันเกิด Birthday leave
- สหกรณ์ กองทุนเงินกู้ในบริษัท
- เงินกู้ยามฉุกเฉินที่เราไม่สามารถไปหาใครมาช่วยเหลือได้
- ซื้อผลิตภัณฑ์ขององค์กรในราคาพิเศษ ลดราคา ของแถม
- เสื้อผ้า / เครื่องแบบพนักงาน เพื่อลดรายจ่ายพนักงาน และส่งเสริมการแต่งกาย
จะเห็นได้ว่า Top-up นั้น จะได้หรือไม่ได้อาจจะไม่ได้สำคัญกับเรา หรืองานบางตำแหน่งมาก เนื่องจากอาจจะไม่ได้ใช้งานเลย
ในบทนี้ได้วางฐานให้ทุกคนเข้าใจว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆในการทำงานมีอะไรบ้าง เราสนใจอะไรเป็นพิเศษสามารถเรียกร้องหรือถามหาได้บ้าง หากเป็นไปได้ทุกคนก็อยากได้สิทธิ์ประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ให้เหมาะสมกับการที่ตัดสินใจเข้าทำงาน
สำหรับตอนต่อไป จะเป็นการสอนการคำนวนแบบคร่าวๆว่า เราจะประเมิณค่าแรงแบบเงินเดือนเราอย่างไรดี สำหรับคนจบใหม่ และคนที่กำลังย้ายสายงาน ซึ่งต้องดูปัจจัยอะไรบ้าง โปรดติดตามต่อในตอนที่ 3 รายได้ตอบแทน
สำหรับตอนต่อไป จะเป็นตอนที่ 3 และเป็นตอนจบของเรื่องนี้แล้ว จะเป็นหัวข้อที่พูดถึง เรื่องการคำนวนเงินเดือน สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ กำลังจบการศึกษา หรือย้ายงาน ให้สามารถประเมิณเงินเดือนที่สมควรได้รับได้
The best benefits ตอนที่ 3 (ตอนจบ) รายได้ตอบแทน
Recent Comments