The best benefits ตอนที่ 3 (ตอนจบ) รายได้ตอบแทน

0

รายได้ตอบแทนที่เหมาะสมกับเรา สำหรับตอนนี้เราจะพูดถึง รายได้ตอบแทน หรือเงินเดือนเป็นหลักวิธีการคำนวน และการสำรวจว่าเราควรใช้เกณฑ์ไหนเป็นหลัก

Material: Presentation PDF

ต่อจากตอนที่แล้ว 
The best benefits ตอนที่ 1 เราทำงานกันทำไม
The best benefits ตอนที่ 2 สิทธิประโยชน์ในการทำงาน

ที่จริงแล้วเราทุกคนต่างทำงานเพื่อรับผลตอบแทนเป็นเงินได้กันทั้งสิ้น แต่จะได้สวัสดิการและสิทธิ์ประโยชน์อื่นๆมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสถานประกอบการ แต่สำหรับน้องๆนักศึกษาหลายท่านอาจจะยังไม่มั่นใจว่าควรเรียกเงินเดือนหรือรายได้เท่าไหร่ดี ซึ่งตอนนี้ จะมีวิธีเรียกกันแบบมาตราฐานทั่วๆไป ซึ่งอาจจะไม่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมด ให้ใช้เพื่อการศึกษาและการนำไปวิเคราะห์

ภาพขึ้นต้นเนื้อหา รายได้ตอบแทน
ภาพขึ้นต้นเนื้อหา รายได้ตอบแทน

สำหรับเนื้อหาในตอนนี้จะแบ่งงานออกเป็น 3 ประเภทหลักดังต่อไปนี้ เพื่อแยกประเภทการคิดเงินได้ที่แตกต่างกัน

  1. แรงงานชั่วคราว เงินได้รายวัน
  2. งานภาครัฐ
  3. งานเอกชน

1. แรงงานชั่วคราว เงินได้รายวัน

กระทรวงแรงงานได้มีประกาศค่าแรงขั้นต่ำไว้ว่า พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 331 บาท ต่อวัน ซึ่งเราสามารถไปดูประกาศได้จากลิ้งนี้ Prakadwage10-6Jan2020.pdf (mol.go.th) เพื่อวิเคราะห์ว่าสถานประกอบการที่เราไปทำงานด้วยนั้นเคารพกฎหมายแรงงานหรือไม่

การคำนวนเงินเดือน รายได้ตอบแทน การทำงานรายวัน
การคำนวนเงินเดือนการทำงานรายวัน

สำหรับใครที่กำลังมิงหางานแบบ Part-time อาจจะมีการตกลงกันเป็นรายวัน โดยไม่น้อยกว่ากฎหมายกำหนด โดยปกติทั่วไปแล้วงาน IT จะมีรายได้รายวัลอยู่ประมาณ 500 บาท ซึ่งสามารถช่วยเหลือค่าเดินทางสำหรับการเรียนรู้ได้พอสมควร และถ้าบางบริษัทสามารถทำ WFH ได้ ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้เยอะ ซึ่งบางสถานประกอบการ อาจจะเป็นโอกาสที่ดี ที่เราสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ มากกว่าเรื่องของรายได้


2. งานภาครัฐ

*สำหรับโครงการ Super AI Engineer ขออนุญาติใช้เงินได้อัตราปริญญาตรีเป็นฐาน
การคำนวนเงินเดือน รายได้ตอบแทน การทำงานกับภาครัฐ
การคำนวนเงินเดือนการทำงานกับภาครัฐ

สำหรับงานภาครัฐแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะงานดังนี้

  1. ราชการ งานประจำที่อยู่ควบคุ๋กับการบริหารแผ่นดิน มีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท
  2. รัฐวิสาหกิจ งานการค้าเพื่อหวังผลกำไรโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นหลัก มีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 17,840 บาท
  3. องค์การมหาชน งานที่ภาครัฐจัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง ไม่ประจำตลอดไป มีกรอบระยะเวลาดำเนินการจนกว่าจะเสร็จสิ้นพันธกิจ มีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 18,000 บาท หรือตามที่ตกลง + ผลประกอบการ

โดยงานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐจะนับจากวุฒิการศึกษาที่ตรงกับที่ประกาศไว้เป็นหลัก เพื่อคำนวนประสบการ เช่นวิศวกร-คอมพิวเตอร์ ต้องจบวุฒิให้ตรงกับที่ประกาศ จึงนับประสบการได้

การเรียกเงินเดือน ราชการ และรัฐวิสาหกิจนั้นส่วนใหญ่คำนวนตามฐาน แต่ยกเว้นกรณีพิเศษคือบุคคลนั้นเป็นที่ต้องการของภาครัฐมาก จึงสามารถให้เงินเดือนพิเศษได้ ซึ่งหัวหน้าหน่วยงานต้องรับรอง แต่องค์การมหาชนนั้นสามารถต่อรองในช่วงกว้างๆได้

วิธีการคำนวน เงินเมื่อมีการย้ายสายงานหรือเปลี่ยนมารับงาน

  1. ฐานเงินเดือน ตามลักษณะงาน
  2. ประสบการ หากงานตรงสายอาจประเมิณได้สูงสุด 5% จากฐานเงินเดือน ต่อปีประสบการณ์
  3. เหรียญรางวัล ใบประกาศ วิทยฐานะที่เกี่ยวข้องกับงาน ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานกำหนด

เช่นสมัครงานในงานที่มีฐานเงินเดือน 15,000 บาท
มีประสบการณ์การทำงานมา 10 ปี ประสบการ 1 ปี มีค่า 5% ของ 15,000 เท่ากับต่อปี 750 บาท
มีใบประกอบสำหรับการทำงานมูลค่า 5,000 บาท

สรุปแล้วเราจะสามารถรับเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 27,500 บาท (15,000 + 7,500 + 5,000)


3. งานเอกชน

สำหรับงานเอกชนนั้นไม่มีตัวเลขรายได้ตอบแทนตายตัวสำหรับการคิดเงินเดือน แต่วิธีการคำนวนเงินเดือนนั้นมีหลักคิดอยู่ง 3 แบบได้ดังนี้

  1. คิดจากใบประกาศจัดหาแรงงาน Job Boards
  2. คิดจากราคากลางในตลาดแรงงาน
  3. คิดจากโครงสร้าง และขนาดของกิจการ

สำหรับแบบที่ 1 นั้น เราไม่สามารถกำหนดเงินได้หรือเงินเดือนได้เลย เนื่องจากกิจการได้ประกาศออกมาชัดเจนเป็นหนังสือว่าสามารถจ่ายให้ได้ในราคาเท่าไหร่ ซึ่งถ้าหากว่า ไม่ตรงใจเราก็ให้ผ่านไป

แบบที่ 2 คิดจากราคากลางในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นวิธีที่นำยมในปัจจุบัน โดยเอาราคากลางในตลาดเป็นฐาน เพิ่มหรือลดขึ้นยู่กับความพอใจ
วิธีการหาราคากลางนั้น ส่วนใหญ่เราสามารถค้นหาได้จากบริษัทจัดหางานที่ทำรายงานออกมาในแต่ละปี
Jobsdb ให้ข้อมูลว่า ระดับเจ้าหน้าที่ (Entry Level)  อุตสาหกรรมไอที, การธนาคารและการเงิน, โทรคมนาคม เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 32,500 บาท

สายงานไอทีเปย์เงินเดือนเพิ่มขึ้นอันดับ 1 SMEs ปรับสู้บริษัทใหญ่
ภาพสรุปรายได้ในแต่ละสายอาชีพของ JobsDB


Adecco ให้ข้อมูลว่า พนักงานจบใหม่ มีอัตราเงินเดือนอยู่ที่ 10,000 ถึง 50,000 บาท ซึ่งเป็นช่วงที่กว้างมาก เราอาจจะใช้ค่ากลางเป็นฐานการคิด คำนวนก็ได้เช่น 35,000 บาท

เปิด "ฐานเงินเดือน" ปี2565 ไอที ดิจิทัล มาแรง ผู้บริหารเงินเดือนสูงสุด 7 แสน
ภาพสรุปรายได้ในแต่ละสายอาชีพของ ADECCO

แบบที่ 3 คิดจากโครงการสร้างองค์กร
เช่นบริษัทใหญ่ผลประกอบการดี ก็ใช้ราคากลางของตลาด
บริษัทขนาดเล็ก ก็ลดลั่นลงมา
หากเป็น Start-up อาจจะขอหุ้นด้วย เพื่อสู้ไปด้วยกัน

สำหรับการคิดเงินรายได้ตอบแทน เพื่อคนที่ย้ายงานหรือเปลี่ยนสายงานในกรณีที่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน มีวิธีคิดหลักๆ 3 แบบ

  1. ค่าประสบการณ์เป็น % จากฐานเงินเดือน
  2. ค่าประสบการณ์คงที่
  3. ค่าประสบการณ์ความพร้อมทำงาน จากฐานเงินเดือนล่าสุด

วิธีที่ 1

สมมติฐานเงินเดือนประกาศไว้ที่ 20,000 บาท

ประสบการทำงาน 5 ปี ปีละ 10% จากฐานเงินเดือน รวมเป็น 10,000 บาท

รวมเป็นข้อเสนอ 30,000 บาท

วิธีที่ 2

สมมติฐานเงินเดือนประกาศไว้ที่ 20,000 บาท

ประสบการทำงาน 5 ปี ปีละ 3,000 บาท รวมเป็น 15,000 บาท

รวมเป็นข้อเสนอ 35,000 บาท

วิธีที่ 3

สมมติเงินเดือนล่าสุดจากการทำงานอยู่ที่ 30,000 บาท

เรียกเพิ่ม 20% จากเงินเดือนล่าสุด เป็นเงิน 6,000 บาท

รวมเป็นข้อเสนอ 33,000 บาท

การคำนวนเงินเดือนการทำงานเอกชน รายได้ตอบแทน
การคำนวนเงินเดือนการทำงานเอกชน

ในท้ายที่สุดนี้เงินเดือนอาจจะไม่ใช้เงินได้เพียงก้อนเดียวที่เราได้จากสถานประกอบการ อาจจะมีโบนัส และค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่บริษัทช่วยเหลือ ซึ่งทำให้เราไม่สามารถใช้เงินเดือนเพียงอย่างเดียวในการตัดสินใจได้ แต่หวังว่าบทความทั้ง 3 ตอนของเราจะช่วยให้ท่านสามารถเลือกงานที่มีในใจได้ดียิ่งขึ้น


ในช่วงที่เขียนบทความนี้ เป็นการเข้าแข่งขั้นในค่ายที่ 3 ที่ทุกคนต้องเดินทางไปอบรมฝึกงาน กับสถานประกอบการแบบไปทำงานอย่างจริงจังเพื่อนำผลงาน มาใช้ประกอบการแข่งขันหาผู้ที่สมควรได้รับเหรียญรางวัลเหรียญทอง Super AI Engineer Season 2 ของประเทศไทย แต่ก็อาจจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นที่แวะเข้ามาอ่าน หรือมาศึกษาด้วย เราเปิดให้เป็นการศึกษาได้จากสาธารณะ