The best benefits ตอนที่ 1 เราทำงานกันทำไม

0

เราทำงานกันทำไม เป็นสิ่งที่หลายคนกำลังตั้งคำถามกับตัวเอง

Material: Presentation PDF

เราทำงานกันทำไม วันนี้ขอนำเนื้อหาที่เคยได้เปิดแชร์ความรู้ให้กับน้องๆนักเรียน นักศึกษาในชั้นเรียน Super AI Engineer มาแบ่งปัน โดยเนื้อหามีอยู่ว่า การที่ใครซักคนจะเข้าทำงานที่ใดที่หนึ่งนั้น มีสิ่งสำคัญอะไรบ้างที่เราควรจะเรียกร้องได้ และอะไรเป็นสิ่งที่ได้เสริมเพิ่มเติม และหลักการเลือกงานมีอะไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้น้องๆที่กำลังศึกษาอยู่นั้นสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นว่า The best benefits ตอนที่ 1 เราทำงานกันทำไม


เริ่มต้นจากปรัชญาการทำงาน เราทุกคนต่างตอบแทนกัน ซึ่งผู้สอนอยากให้ทุกท่านที่เรียนเข้าใจถึงหลักการทำงาน ที่ไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละฝ่าย ลูกจ้าง และนายจ้าง ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยยึดโยงมูงค่า และคุณค่าระหว่างกัน โดยเราเสนอคำว่า Recruit การรับสมัครงาน นั้นเท่ากับ Requite การตอบแทนซึ่งกันและกัน

งานที่พนักงานใช้แรงงานและสมองสร้างสรรค์ขึ้นมานั้น ก่อนให้เกิดมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของกิจการ

ในขณะที่กิจการเองก็ตอบแทนการทำงานตีเป็นมูลค่า จากคุณค่าที่ท่านสร้างขึ้นมาให้กิจการ

โดยเราสามารถที่จะอนุมาณได้ว่า คุณค่าและมูลค่าที่เราพูดถึงนั้นมีเงินเป็นตัวกลางก็ได้ เพื่อที่จะสื่อสารกันด้วยสกุลเงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนคุณค่าระหว่างกัน

เราทำงานกันทำไม Slide อธิบายว่าเราต่างทำงานตอบแทนกันจึงไม่ใช่เรื่องของ บุญคุณหรือการกดขี่แรงงาน หรือการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
เราทำงานกันทำไม การทำงานเราต่างตอบแทนกัน

ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของ มาสโลว

เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบถึงที่มาที่ไปว่าทำไมเราต้องทำงาน ทำไมเราถึงไปต้องแลกเปลี่ยนคุณค่ากับคนอื่น ซึ่งการเรียนรู้ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว จะช่วยสอนให้เราเข้าในว่า ความจริงแล้วมนุษย์นั้นมีความต้องการที่หลากหลายไม่เหมือนกัน และไม่สิ้นสุดตามจนกว่าจะมีทุกอย่างที่ตนต้องการ เมื่อเราทราบว่าทุกคนมีความต้องการที่แตกต่างกันแล้ว นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม แต่ละคนจึงเลือกงานไม่เหมือนกัน และมีวัตถุประสงค์ต่างกันไป

สำหรับการทำงานนั้น เกิดจากความต้องการระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างตรงกันทำให้เกิดการจ้างงาน เราจึงต้องเรียนรู้ถึงความต้องการในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เข้าใจว่าเราจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือกิจการในเรื่องใดได้บ้าง

เราทำงานกันทำไม ความต้องการ 5 ลำดับขั้นมีลักษณะใดบ้าง
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้อง

ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของ มาสโลว

1 ขั้นพื้นฐานความต้องการของร่างการ (Physiological Needs)

มนุษย์เราไม่สามารถหลีกหนีความหิว ง่วงนอน ขับถ่าย หรืออิสภาพในการใช้ชีวิตได้ หากมนุษย์เรายังไม่มีสิ่งนี้ สิ่งที่เขาต้องการและฝันถึงในทุกๆวัน คือการมีอาหารกินในแต่ละมื้อ ในแต่ละวันเท่านั้น เพราะลำพังอาหารยังไม่มีความมั่นใจ เขาจึงไม่สามารถที่จะปรารถนาหาสิ่งอื่นมาก่อน เราทำงานกันทำไมก็เพราะเราต้องการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย เป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ ขาดไปแล้วไม่สามารถดำรงชีวิตได้

  • น้ำ Water
  • อากาศ Air
  • อาหาร Foods
  • การนอนหลับ Sleep

2 ขั้นความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)

หากมนุษย์เราสามารถที่จะหาอาหารได้ระยะยาว หรือเก็บกักตุนอาหารหรือมีทุนสำรอง สำหรับอาหารระยะยาวในอนาคตได้แล้ว ซึ่งที่มนุษย์ต้องการต่อมาคือความปลอดภัยของทรัพย์สิน และร่างกาย การใช้ชีวิตต้องสามารถดูแล เงินที่หามาได้ต้องฝากเงินแล้วเงินไม่หาย ต้องนอนหลับได้อย่างสบายใจแล้วไม่โดยใครมาทำร้าย หรือแม้กระทั้งมั่นใจว่ามีอาหารเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในระยะยาว หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หรือหนึ่งปี เพราะเมื่อมีทุนทรัพย์มากขึ้น ก็ต้องคาดหวังความปลอดภัยที่จะไม่ได้ใครมาช่วงชิง หรือทำร้าย

  • ความปลอดภัยในทรัพย์สิน
  • ความปลอดภัยในร่างกาย
  • ความปลอดภัยทางอารมณ์
  • ความเป็นส่วนตัว Privacy

3 ขั้นความต้องการเป็นที่รัก และความเป็นเจ้าของ (Love and belonging Needs)

เมื่อมนุษย์เริ่มสะสมทุน สมบัติ แรงงาน มูลค่าที่ตัวเองสร้างขึ้นมาได้มากมายนั้นยอมแลกเปลี่ยนเป็นทนัพย์สินต่างๆมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองได้นั้น แต่เมื่อมีมากพอย่อมต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ต้องการความเป็นเจ้าของมากขึ้น ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง เพื่อหลับนอนพักผ่อนอย่างสบายใจ เพื่อกินข้าวหาอาหารมาหล่อเลี้ยงร้างกายได้อย่างสบายใจในที่ส่วนตัว และไม่มีใครมารุกร้ำ โดยสามารถบอกใครว่านี่คือสิ่งของที่เป็นของเรา หรือแม้กระทั้งการได้ดูแลคนรัก เพื่อสร้างความผูกพันธ์ระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยอุทิศตนเพื่อความรักมากกว่าที่จะไปหาความต้องการด้านพื้นฐาน

  • เพื่อน Friends
  • ความรัก Love and Romantics
  • ครอบครัว Family
  • บ้าน House
  • รถยนต์ Vehicle

ล้วนแสดงถึงความเป็นเจ้าของ หลังจากที่มีทรัพยากร มีทุนทรัพย์มากพอที่ร่างกายต้องการแล้ว มนุษย์จึงมีความอยากได้ในสิ่งต่างๆ มาสะสม ประดับฐานะ

4 ขั้นความต้องการเป็นที่ยอมรับ เป็นที่นับถือทางสังคม (Esteem Needs)

เมื่อมนุษย์เรามีความต้องการ และได้มันมาอย่างเพรียบพร้อมแล้วนั้น จึงสามารถแบ่งปันให้กันคนอื่นได้ จะมองหาโอกาสในการแบ่งปัน เพื่อที่จะได้เป็นที่รักและเป็นที่นับถือจากใครอีกหลายคน ผู้นั้นจะไม่มีความกังวลในปัจจัยพื้นฐานอีก โดยการได้เห็นคนอื่นมีความสุขมากขึ้น นั้นเป็นความต้องการของเขา และสิ่งที่ได้รับกลับมาเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้เขาภาคภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำอะไรลงไป

  • ความเชื่อใจ Trust
  • การนับถือ Respect
  • ชื่อเสียง Reputation

5 ขั้นความต้องการที่เข้าใจในตัวเอง (Self-Actualization Needs)

เมื่อมนุษย์เราบรรลุวัตถุประสงค์ความต้องการในชีวิตตัวเองทุกอย่างแล้ว ย่อมเข้าใจถึงความต้องการที่สุดและหรือชอบส่วนตัวเองไปด้วยว่าชอบอะไร จึงเป็ฯจุดที่เขาผู้นั้นสามารถเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจและชื่อชอบได้ เช่นงานศิลปะ ปฏิบัติธรรม หรือแม้กระทั้งการไม่ทำอะไรเลย เพราะเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองปรารถนาอย่างสุดซึ้ง โดยละเลิกการมองหาปัจจัยพื้นฐานหรือความต้องการอื่นเพื่อต้องไปดิ้นรนต่อไปอีก

  • ความสนใจพิเศษ Passion
  • การใช้ความคิดสร้างสรรค์ Creativity
  • การเสียสละ Self-sacrifice

เราจึงสรุปวัตถุประสงค์ Objectives ของการทำงานที่พบเจอในสังคม มาเป็นตัวอย่างให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจว่า ทุกคนไม่ได้ต้องการเงินเป็นหลัก ทุกคนเป็นตัวของตัวเอง มีปัญหาของตัวเอง จึงมีวัตถุประสงค์ของตัวเอง จะมาตอบคำถามที่ว่า เรามาทำงานกันทำไม กันในที่สุด

วัตถุประสงค์ต่างๆที่คนเราเลือกงาน ไม่ใช่เพียงเพราะเงินรายได้อย่างเดียว เราทำงานกันทำไม
เราทำงานกันทำไม วัตถุประสงค์หลักของการทำงาน

เราทำงานกันทำไม วัตถุประสงค์ของการทำงาน

  1. เพื่อหาเงิน เป็นวิธีการสากลที่นิยมกันที่สุดเพราะเงินคือตัวกลางการแลกเปลี่ยนที่ยอมรับกันได้ ในการใช้ดำรงชีพ หาอาหาร หาความปลอดภัย และตอบสนองความสบายใจได้
  2. เพื่อเรียนรู้ เป็นการสร้างโอกาสที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ที่แม้จ่ายเงินเรียนก็ไม่สามารถหาได้ ในการสร้างบันได
    ต่อยอดความรู้ความสามารถให้สูงขึ้นไปอีก โดยไม่คำนึงถึงค่าตอบแทน การหางานที่จะให้ทุนเรียนต่อ หรือหนังสือรับรองประสบการทำงาน อันหาไม่ได้ที่ไหนอีก
  3. เพื่อหน้าตาทางสังคม เป็นการเลือกงานที่ต้องการบอกต่อสังคม เพื่อน ญาติสนิท ให้ทราบถึงสถานะทางการเงินที่สวยหรู และมีเกียรติ งานที่ได้แต่งตัวดี งานที่ได้ออกงานสังคมบ่อย งานที่เป็นที่เคารพรับถือในแวดวง เพื่อโอกาสในการสร้างเครือข่ายหรือ สร้างรายได้ทางอื่น
  4. เพื่ออำนาจ เป็นการเลือกงานที่มีอำนาจตัดสินใจ ช่วยเหลือ ดูแล และสั่งการ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า โดยไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนเป็นหลัก เช่นการทำงานการเมือง การทำงานราชการ
  5. เพื่อความใกล้ชิด สำหรับใครที่มีความจำเป็นต้องดูแล พ่อแม่ที่แก่เฒ่า ลูกเล็ก หรือแฟนที่เพิ่งคบกันใหม่ๆ อาจจะต้องการความใกล้ชิด เพื่อที่จะหาถึงกันได้สะดวก และดูแลกันได้ง่าย โดยไม่จำเป็นว่าต้องมีเงินที่เยอะ ขอแค่ได้อยู่กับครอบครัว หรือเพื่อนๆ ก็มีความสุข
  6. เพื่อความสบายใจ เป็นทางหนีปัญหาการทำงานที่พบเจอสะสมมา โดยเลือกความสบายใจและถูกใจของตัวเองเป็นหลักไม่ได้มีเหตุผลในอนาคต หรือผลตอบแทนเป็นหลัก ตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของตัวเองได้ดีก็เพียงพอแล้ว

ตัวอย่างที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด สำหรับวันนี้เราได้ปูพื้นถึงปรัชญาว่าทำไมเราต้องมาทำงานกัน มันมีอะไรมาจูงใจ และบังคับให้เราคิดแบบไหนได้บ้าง เพื่อที่ในบทต่อไปเราจะได้เข้าใจมากขึ้นว่าเราควรเรียกร้องสิทธิประโยชน์ในการทำงานอะไรบ้าง ให้เหมาะสมกับการใช้มันสมองและแรงงานอันมีประสิทธิภาพของเรา


เนื่องจากเนื้อหามีค่อนข้างเยอะ เราจึงทำการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน

The best benefits ตอนที่ 2 สิทธิประโยชน์ในการทำงาน
The best benefits ตอนที่ 3 (ตอนจบ) รายได้ตอบแทน

สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ของผู้เข้าสมัครท่านอื่นที่สนใจได้ บทนี้ใช้ปูพื้นฐานความเข้าใจ สำหรับคนที่กำลังจะทำงาน ใช้ตัดสินใจว่าเงินไม่ใช่ทุกสิ่ง หรือจุดขายเดียวของงาน ในส่วนของบทต่อไป จะเป็นพูดถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ และการคำนวนเงิน สำหรับน้องใหม่ว่าควรคิดเรื่อง สิทธิ์ระโยชน์อะไรบ้าง